การงาน

การเชื่อม

การต่อเหล็ก (หรือโลหะ) เข้าด้วยกันในงานโครงสร้างนั้น เราสามารถดำเนินการได้โดยการยึดด้วยสลักเกลียว (Bolting) และการเชื่อม (Welding) สำหรับประเทศไทยนั้นนิยมใช้การเชื่อมเป็นหลัก ด้วยเหตที่การเชื่อมในบ้านเราไม่มีข้อจำกัดด้านการตรวจสอบควบคุมคุณภาพมากนัก ทำให้งานเชื่อมมีราคาไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับงานต่อยึดด้วยสลักเกลียว ซึ่งต้องอาศัยทักษะและความชำนาญ รวมถึงกระบวนการผลิตในโรงงาน Fabrication ตั้งแต่การวางแผนการตัดต่อเจาะรู ฯลฯโดยหลักการทั่วไปแล้ว การเชื่อม (Welding) คือ การประสานเหล็กหรือโลหะเข้าด้วยกัน ด้วยการ “หลอม” ให้เหล็ก (หรือโลหะ) ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปที่จะนำมาเชื่อมติดกันนี้ เกิดการหลอมละลายด้วยความร้อนเพื่อให้เหล็ก (หรือโลหะ) ส่วนที่ละลายนี้มาผสมรวมกัน และแข็งตัวเมื่อเย็นตัวลงสู่อุณหภูมิห้อง ซึ่งหากเราต้องการเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนามากในระดับหนึ่ง ก็จำเป็นต้องมีการเติมโลหะ (Filler Metal)ที่อาจเป็นลวดเชื่อม (Welding Wire) สำหรับการเชื่อมอัตโนมัติ เช่น การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding, SAW) หรือ ธูปเชื่อม(Electrode) สำหรับการเชื่อมไฟฟ้า (บางทีเรียกว่า การเชื่อมแมนน่วลหรือการเชื่อมมือ หรือที่เรียกว่า Shield Metal Arc Welding (SMAW) ตามมาตรฐานอเมริกัน แต่ตามมาตรฐานยุโรป เรียกว่า MMAW = Manual Metal Arc Welding) ซึ่งทั้งลวดเชื่อมและธูปเชื่อมนี้ ต่างก็มีคุณสมบัติที่สามารถผสมกลมกลืนกับเหล็ก (หรือโลหะ) ได้ดีเมื่อหลอมละลาย

อ้างอิง http://www.buildernews.in.th/news/articles/5946

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น